office writing blur business

หนี้ เวลาฟังนี้คนอาจจะนึกถึงเงินและทอง แต่จริง ๆ ไม่ใช่เรื่องของเงินอย่างเดียวตามกฎหมาย มันอาจะเกี่ยวข้องกับการต้องทำอะไรบางอย่าง การทำงานให้ใครบางคน หรือการส่งมอบของบางสิ่งก็ได้เช่นกัน วันนี้ Normthing ที่ปรึกษากฎหมายธุรกิจ นำพื้นฐานกฎหมายลักษณะหนี้มาเล่าให้ฟังครับ

กฎหมายลักษณะหนี้ โครงสร้างของหนี้

นิติกรรมเป็นฐานของสัญญาและนิติกรรมเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ หนี้เป็นผลของสัญญา เขาแยกออกเป็นจิ๊กซอให้เราศึกษา เริ่มตั้งแต่มาตรา 194-313  มาตราแรกที่สำคัญ คือ 195 วรรค 2 ในทางปฎิบัติ แต่ในทางทฤษฎีคือมาตรา 194

มาตรา 195 วรรค 2 

“ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดี หรือถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่าทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป”

มาตรา 194
“ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้”

แบ่งลักษณะหนี้

ลักษณะหนี้แบ่งเป็นสามก้อน

  1. บ่อเกิดแห่งหนี้
    1. นิติกรรม/สัญญา 
    2. นิติเหตุ ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้
    3. กฎหมายเฉพาะ (เช่น พ่อแม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์)
  2. ผลแห่งหนี้ (มาตรา 194-313)
    1. ผลธรรมดา
      1. เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้
      2. บังคับประกันแห่งหนี้
      3. โอนสิทธิเรียกร้อง
    2. ผลพิเศษ
      1. รับช่วงสิทธิ
      2. รับช่วงทรัพย์
      3. ลูกหนี้ร่วม / เจ้าหนี้ร่วม
  3. ความระงับแห่งหนี้ (314-353)
    1. การชำระหนี้ 
    2. การปลดหนี้ 
    3. การหักกลบลบหนี้ 
    4. การแปลงหนี้ใหม่ 
    5. หนี้เกลื่อนกลืนกัน (353) เช่นหนี้บุคคลเดี่ยวกัน

ผลแห่งหนี้

สรุปผลแห่งหนี้แยกเป็นสองก่อน ผลธรรมดา และผลพิเศษ 

  • ผลธรรมดา คือ มันเกิดกับหนี้ทุกชนิด สาระสำคัญของผลแห่งหนี้ผลธรรมดา มีหนี้เกิดขึ้นเมื่อใดเจ้าหนี้มีสิทธิ์
    • หลัก Specific Enforcement เรียกให้ชำระหนี้เฉพาะเจาะจง เรียกว่าสิทธิเรียกร้อง
      • วัตถุแห่งหนี้, 
    • สิทธิบังคับชำระหนี้เอาแต่ประกันแห่งหนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ทรัพย์
      • บุคคล ค้ำประกัน
      • ทรัพย์ จำนำ จำนองฯ
        • สิทธิยึดหน่วง
        • บุริมสิทธิ์
      • โอนสิทธิเรียกร้องของตน ให้บุคคลภายนอก 
  • ผลพิเศษ คือเกิดขึ้นไม่บ่อย
    • รับช่วงสิทธิ์ รับช่วงทรัพย์
    • มาตรการตอบโต้พฤติกรรมไม่สุจริต
    • ลูกหนี้ร่วม เจ้าหนี้หลายคน

โครงสร้างตามประมวลแพ่ง

  • บรรพ 2 หนี้
    • หมวด 1 วัตถุแห่งหนี้ 194-202
    • หมวด 2 ผลแห่งหนี้
      • ส่วนที่ 1 การไม่ชำระหนี้ 203-225
      • ส่วนที่ 2 รับช่วงสิทธิ 226-232
      • ส่วนที่ 3 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ 233-236
      • ส่วนที่ 4 เพิกถอนการฉ้อฉล 237-240
      • ส่วนที่ 5 สิทธิยึดหน่วง 241-250
      • ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ 251-252
        • บุริมสิทธิสามัญ 253-258
        • บุริมสิทธิพิเศษ (ก) เหนืออสังหาฯ 259-272
        • บุริมสิทธิพิเศษ (ข) เหนือสังหาริมทรัพย์ 273-276
        • ลำดับแห่งบุริมสิทธิ์ 277-280
        • ผลแห่งบุริมสิทธิ์ 281-289
    • หมวด 3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน 290- 302
    • หมวด 4 โอนสิทธิเรียกร้อง 303-313
    • หมวด 5 การสิ้นสุดแห่งหนี้
      • ส่วนที่ 1 การชำระหนี้ 314-339
      • ส่วนที่ 2 ปลดหนี้ 340
      • ส่วนที่ 3 หักกลบลบหนี้ 341-348
      • ส่วนที่ 4 แปลงหนี้ใหม่ 349-352
      • ส่วนที่ 5 หนี้กลืนกลัน 353

ผลแห่งหนี้ (มาตรา 194-313)

หนี้ใช้เรียกนิติสัมพันธ์ทางแพ่ง หนี้, สิทธิเรียกร้อง, บุคคลสิทธิ จะมีหนี้จะมีสองฝ่ายอย่างน้อย ส่วนใหญ๋จะเป็นระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย แต่ก็จะมีข้อยกเว้นที่ทำให้บุคคลภายนอกเข้ามาร่วมได้เช่น มาตรา 374-375

กฎหมายปกครองมีแต่หน้าที่ ไม่มีหนี้ แต่กฎหมายทางแพ่งเรียกว่าหนี้ ทางหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้อง ตามบุคคลสิทธิ 

ลูกหนี้และเจ้าหนี้

  • เจ้าหนี้

เจ้าหน้าที่มีสิทธิในการบังคับให้ลูกหนี้เฉพาะเจาะจงได้ โดยอาศัยมาตราที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้อง ชำระหนี้ตามวัตุประสงค์แห่งหนี้ 194,320,215 (Specific Enforcement) และอาจอ้าง 321 วรรค 1 ด้วย

มาตรา 194 ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้

//เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้

มาตรา 215 เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้

//มาตรา 215 ทำให้เจ้าหนี้เกิดสิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทน หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามวัตถุประสงค์แห่งหนี้ และเกิดความเสียหายจากการไม่ชำระหนี้

มาตรา 320 อันจะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือให้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าหาอาจจะบังคับได้ไม่

//ลูกหนี้จะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์แห่งหนี้ที่ก่อขึ้นไม่ได้

มาตรา 321 วรรคหนึ่ง ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป

//เจ้าหนี้มีสิทธิยินยอมให้ชำระหนี้อย่างอื่น เว้นจากหนี้ที่วัตถุประสงค์เดิมเกิดขึ้น หนี้ก็เป็นการระงับไป

ทางกฎหมายเรียกว่า การเรียกบังคับชำระหนี้เฉพาะเจาะจง

  • ลูกหนี้

มีหน้าที่ปฎิบัติชำระหนี้ให้ถูกต้อง Specific performance  ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง เจ้าหนี้จะใช้กำลังบังคับเองไม่ได้ แต่มีสิทธิจะฟ้องศาลให้บังคับชำระหนี้ได้ตาม 213 และเจ้าหนี้จะเอาจากกองทรัพย์สินของคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ไม่ได้

มาตรา 213 วรรคหนึ่ง ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้ 

เจ้าหนี้จะเอาจากกองทรัพย์สินของคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ไม่ได้ แต่หลักข้อนี้มีข้อยกเว้นอยู่

  • สภาพแห่งหนี้ไม่สามารถบังคับให้เฉพาะเจาะจงได้ โดยสภาพ แต่ลูกหนี้ไม่หลุดพ้น
    • เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้แก้ได้ตาม มาตรา 213 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ 

“เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้

ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย และให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้

อนึ่งบทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่”

สรุปโครงสร้าง กฎหมายหนี้

วันนี้ Normthing ที่ปรึกษาการตลาด และจัดอีเว้นท์ รวมทั้งที่ปรึกษากฎหมายธุรกิจ เอากฎหมายตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย เกี่ยวข้องกับหนี้มาแบ่งปันกันครับ ส่วนใคร