Harley

เกือบ 40 ปีที่แล้ว มีธุรกิจหนึ่งใกล้ล้มละลาย ไปต่อไม่ถูก

ต่อมาอีก 25 ปีหลังจากนั้น กลายเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่า 7.8 พันล้านดอลล่า 

และติดอันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุด 50 อันดับแรกของโลก 


.

นั้นก็คือ HARLEY-DAVIDSON

แบรนด์นี้มีกลยุทธ์อย่างไรให้กลับมาได้


.

จริง ๆ แล้วมันมีหลายปัจจัยแต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและทำให้ประสบความสำเร็จ

นั้นก็คือความตั้งใจของ HARLEY ที่จะสร้าง BRAND COMMUNITY หรือสร้างสังคมของคนที่ชอบแบรนด์ HARLEY 


.

โดยรวม คนที่ชื่นชอบแบรนด์ คนที่มีใจรักต่อแบรนด์ รวมทั้งมีรูปแบบการใช้ชีวิต การทำกิจกรรม และมีพื้นฐานทางสังคมคล้าย ๆ กัน


.

ถ้าเรานึกภาพออกจะมียุคสมัยหนึ่ง ที่คนขับHARLEY รวมก้วนกันไอออกทริปที่ต่าง ๆ แล้วมันเท่มาก 


.

ซึ่งมีหลาย ๆ แบรนด์ที่มีความพยายามทำสังคมของแบรนด์นี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีและเป็นเวลาที่เหมาะสมอยู่


.

เพราะว่า ในโลกยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายนั้น ผู้คนต่างแสวงหาสังคม แสวงหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และในยุคที่การประหยัดต้นทุนเป็นเรื่องสำคัญ 


.

ทุกบริษัทจะต้องค้นหาวิธีใหม่ ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด (อาจเกี่ยวข้องกับเรื่อง CLV ที่เราจะพูดถึงกันในอนาคต) 


.

หลาย ๆ แบรนด์ต้องสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Authenticity) แต่ไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่สามารถทำได้ หากปราศจาก Brand Community หรือ Community ไม่แข็งแกร่งจริง ก็ยากที่จะสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์  มีเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่รู้และเข้าใจว่าต้องทำอย่างไรถึงจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ 


.

ส่วนใหญ่ความผิดพลาดของบริษัทที่ทำต่อแบรนด์คอมมูนิตี้คือ บริหารจัดการมันอย่างไม่เหมาะสม เนื่องจากผู้บริหารของบริษัทมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะมุ่งมั่นที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มแต่อย่างเดียวจึงทำให้บริษัทเข้ามาควบคุมแบรนด์คอมมูนิตี้มากจนเกินพอดี


.

ความจริงแบรนด์คอมมูนิตี้จะส่งผลดีต่อเมื่อสมาชิกของกลุ่มเป็นผู้ควบคุมด้วยตัวเอง และเมื่อบริษัทสร้างชุมชน ที่มีสภาพแวดล้อมในแบบที่ส่งเสริมการขยายตัวของชุมชุน 


.

ยกตัวอย่างเช่น Vans เป็นผู้ผลิตรองเท้าสำหรับการเล่นสเกตบอร์ด ได้เชิญชวนให้ผู้ใช้สินค้าเป้าหมาย (Lead Users) เข้ามาร่วมเป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์เสียเอง (ซึ่งทำมานานแล้ว) เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมให้ชุมชนแข็งแกร่งขึ้นไปอีก